top of page

ผลกระทบ

3. ผลกระทบ

เทคโนโลยีเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียขึ้นอยู่ที่เราจะเลือกใช้งานให้เหมาะสม แต่ผลกระทบที่เห็นได้อย่างแน่ชัด

  • ความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้างลดน้อยลง

  • หากมองจอโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เสียสายตาได้

  • เวลาเดินข้ามถนนหรือไม่ว่าจะไปเดินไปไหน หากสนใจแต่มองแต่หน้าจอมือถือ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

  • อาจทำให้มีอารมณ์ร้ายและใจร้อนขึ้นได้

  • แสงสีฟ้าจากจอมือถือ ส่งผลอัตรายร้ายแรงขั้นตาบอดได้

  • ปัญหาอื่นๆ

 

 

           3.1ผลจากการใช้อินเตอร์เน็ตมีผลต่อ

สุขภาพจิตในทางบวก

ของเด็กและเยาวชนมากที่สุด ได้แก่ ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ

สุขภาพกายในทางลบ

ได้แก่ ทำให้อ่อนล้าสายตา สายตาสั้นลง ตาลาย เมื่อยแขน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดก้นกบ หลัง ไหล่ กล้ามเนื้อมือและนิ้ว ร่างกายเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ลืมเวลากินอาหารจนปวดท้อง เพลิน จนไม่ได้เข้าห้องน้ำ ทำให้มีผล ต่อระบบขับถ่าย

สุขภาพจิตในทางลบ

ได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้า

เซลฟี ขี้อิจฉา ซึมเศร้า

เซลฟี สามารถกัดกร่อนความมั่นใจ ความภาคภูมิใจในตัวเองได้ หากถ่ายรูปตัวเองเผยแพร่บนโลกออนไลน์เป็นบางโอกาส ถือเป็นการมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ แต่หากมากไปและคาดหวังจดจ่อว่าจะมีใครเข้าดู เข้ามาแสดงความคิดเห็น แสดงว่าเซลฟีกำลังสร้างปัญหาและเป็นสัญญาณหนึ่งบอกถึงการขาดความมั่นใจในตัวเอง(พรรณพิมล วิปุลากร.2557: http://www.motherandcare.in.th)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังมีตามมาอีกมากมาย และที่เป็นข่าวในโทรทัศน์จะเห็นได้ชัดในปัจจุบันคือ การหลอกลวงทางโปรแกรมแชท สิ่งสำคัญที่เด็กต้องเรียนรู้จากพ่อแม่และคนรอบข้างเพื่อที่บุคคลเหล่านั้นจะต้องสร้างทักษะในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม การระมัดระวัง ความรู้เท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อซะเอง เช่นการไม่ไปประจาน ไม่นำภาพของตัวเองที่ผิดจารีต ประเพณี วัฒนธรรม หรือผิดกฎหมาย ใส่เข้าไปแล้วเกิดการเผยแพร่ โปรแกรมแชทกับคนแปลกหน้าอาจชักนำให้เกิดการกระทำความผิดหรือกลายเป็นเหยื่อได้ นำไปสู่การคุกคาม การล่อลวง การฉ้อโกง การละเมิดทางเพศ ผู้ใช้งานสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนจึงควรได้รับการดูแลและระมัดระวังในการเข้าถึงสื่อเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ครอบครัว โรงเรียน ต้องพุดคุย แล้วทำให้เกิดทักษะ รวมทั้งต้องรู้ข้อกฎหมายด้วยว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้น อาจจะมีโทษตามกฎหมาย เช่น ไปละเมิดสิทธิคนอื่นเขา อันนี้วัยรุ่นไม่ค่อยรู้ ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่รู้กฎหมาย ไม่ตระหนัก และเมื่อทำไปแล้วมันจะส่งผลทำร้ายตัวเองได้ด้วย ต้องระมัดระวังและมีทักษะการอยู่ร่วมกับสังคมโซเชียล ถ้าไม่มี เด็กรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สุดท้ายโดนบันทึก ล่อลวง กระทรวงวัฒนธรรมหรือหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับสื่อทั้งหลาย น่าจะถึงเวลาที่โลกเสมือน หรือโซเชียลโกบอล คือ ชุมชนกลางอากาศต้องมี Change Agency หรือ Webmaster ที่เป็นเหมือนดีเจคอยดูแลระบบ ช่วยเหลือ คุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่ได้เพียงกำจัดสิ่งชั่วร้าย หรือบล็อกสิ่งที่ไม่เข้าท่าเข้าทาง แต่จะต้องมีทักษะชนิดอื่น คือ ให้คำปรึกษา มีการวางกติกาขึ้นมา ไม่งั้นสังคมไม่เกิดการเรียนรู้ สุดท้ายผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนำเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเตอร์เน็ตให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดีไม่ดี ควรและไม่ควรทำและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและชี้นำคอยตักเตือนลูกๆ ด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออนไลน์ ส่วนเด็กๆ วัยรุ่น ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ต สลับกับพบกับเพื่อนบนโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือการทบทวนเนื้อหาตำราด้วย ทั้งในหนังสือและเนื้อหาบนโลกอินเตอร์เน็ต วิธีนี้จะช่วยให้ผลการศึกษาที่ดีต่อลูกได้ด้วย(สุริยเดว ทรีปาตี.2557: http://www.motherandcare.in.th)

นอกจากผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ยังมีนายแพทย์ท่านหนึ่งกล่าวถึงโรคที่เกิดจากการก้มหน้ามองจอมือถือนานๆไว้ว่า โรคเท็กซ์เนค อาการของ สังคมก้มหน้า

"เท็กซ์เนค" เป็นคำที่ นายแพทย์ดีน ฟิชแมน แพทย์กายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดอาการของกระดูกสันหลังชาวอเมริกัน คิดขึ้นเพื่อใช้เรียกกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการ "ก้มหน้า" บ่อยๆ ซ้ำๆ และนานเกินปกตินี้อาการที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ การปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ กล้ามเนื้อคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดทุกวันหนักเข้าก็อาจพาลไปถึงเกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบนซึ่งถือว่าสาหัสเลยทีเดียว ที่น่ากังวลก็คือ การก้มหน้าในลักษณะนี้บ่อยๆ นานๆ  จะส่งผลต่อบุคลิกท่าทาง และการเติบโตของร่างกายในเด็กและวัยรุ่น..ให้ออกมาบิดเบี้ยวโค้งงอจนต้องมาหาทางแก้กันยุ่งยากในภายหลัง ที่มาของโรคนี้คือการก้ม ในทางการแพทย์เขาบอกว่าเพียงแค่การก้มศีรษะลงไปข้างหน้า ผิดจากท่าปกติตามธรรมชาติ (คือเมื่อหูของเราอยู่ในแนวเดียวกับไหล่)การก้มไปเพียงแค่นิ้วเดียว น้ำหนักของศีรษะก็จะทำให้ กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกและเส้นประสาทในบริเวณไหล่ คอ ต้องแบกรับภาระหนักขึ้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วยการถ่วงไปข้างหน้า จะไปดึงรั้งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นทั้งหมดให้ต้องแบกรับภาระตามมาด้วยอาการตึง ถ้าทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ทั้งกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว ดร.ฟิชแมนเคยแสดงให้เห็นในฟิล์มเอกซเรย์..ของวัยรุ่นอเมริกัน ที่แสดงอย่างชัดเจนว่ากระดูกสองสามชิ้นบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งงอไปด้านหน้า แบบผิดธรรมชาติเพราะเหตุนี้มาแล้ว ข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี2000ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วศีรษะของคนเราจะหนักประมาณ 5 กิโลกรัมการก้มไปข้างหน้าทุกๆ 2 เซนติเมตร จะทำให้ไหล่ต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ดังนั้น ถ้าก้มลงไป 6 เซนติเมตร น้ำหนักของศีรษะที่ไหล่ คอ และกระดูกสันหลังที่ต้องรองรับนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 15 กิโลกรัม น้ำหนักขนาดนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการก้มนานๆ ซ้ำๆ อยู่ทั้งวันถึงก่อให้เกิดอาการได้มากขนาดนั้น คำแนะนำของแพทย์เพื่อการป้องกันไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของเท็กซ์เนคอย่างง่ายๆก็คือ ละสายตาจากจอ เปลี่ยนท่าจากการก้มหน้า ปล่อยให้ศีรษะกลับคืนสู่ท่าธรรมชาติในทุกๆ 15 นาที เงยหน้าขึ้น เหลียวไปรอบๆ ถ้ายังจำเป็นต้องจ้องจออยู่ก็ยกมันให้ขึ้นมาอยู่ในระดับสายตาเพื่อลดการแบกรับน้ำหนักของคอลงเป็นระยะๆ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรออกกำลังกายในแบบที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ได้ผ่อนคลาย จะเป็นโยคะก็ได้หรือจะเป็นกายบริหารแบบพิลาทีสที่มุ่งเน้นไปที่การทำให้ร่างกายของเราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้องก็ได้ทำให้ได้ทุกวันจะป้องกันปัญหานี้ได้ ใครที่ลองปฎิบัติตนตามนี้แล้วยังไม่ได้ผล แสดงว่า เท็กซ์เนคของคุณค่อนข้างจะรุนแรงแล้ว ควรไปพบแพทย์อย่างน้อยๆ ก็อาจต้องใช้ยาจำพวกคลายกล้ามเนื้อช่วย แต่ถ้าอาการเกิดไปกระทบทำให้กลุ่มประสาทในบริเวณดังกล่าวถูกบีบ กดอยู่นานๆ จนเกิดอาการปวดประสาทก็จัดอยู่ในขั้นต้องให้แพทย์ที่เชี่ยวชาญดูแลเป็นการเฉพาะจะดีที่สุด สุดท้ายแล้ว..ก็ควรลดการเป็นส่วนหนึ่งของ"สังคมก้มหน้า"ให้เหลือน้อยที่สุด(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.2557: http://www.thaihealth.or.th/Content)

 

         3.2 สรุป

สังคมก้มหน้าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากยุคสมัยนี้ ประชาชนแต่ละคนจะมีมือถือสมาร์ทโฟนพกพาคนละเครื่อง2เครื่อง เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ดึงดูดความสนใจจากประชาชนไปจนหมด ได้แต่หมกมุนอยู่กับหน้าจอ ให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์มากกว่าโลกความเป็นจริง ขาดความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ที่น่ากลัวที่สุดคือ แม้แต่เวลาข้ามถนนก็สนใจแต่หน้าจอจึงส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

                ผลกระทบ ส่งผลกกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เพื่อนคนรอบข้าง อาจเกิดอุบัติเหติได้เนื่องจากก้มมองและสนใจกับจอสมาร์ทโฟน จนส่งผลทางด้านสายตา หน้าจอมือถือมีแสงสีฟ้า ซึ่งอาจส่งผลให้ตาบอดได้ถ้าจ้องมองเป็นเวลานานเกินไป และที่สำคัญอาจเกิดการล่อลวง การหลอกลวงทางแชท ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวซึ่งผู้ปกครองควรให้คำแน่ะนำกับลูกหลานและใส่ใจดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด และในปัจจุบันนี้ได้มีโรคเพิ่มมาชื่อว่า โรคเท็กซ์เนค อาการของ สังคมก้มหน้า ซึ่งเกิดจากการก้มเป็นเวลานานส่งผลต่อกระดูก เป็นอัตรายอย่างมาก

                วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมก้มหน้า ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแกบุตรหลานในการใช้มือถือสมาร์ทโฟนให้ถูกต้องถูกเวลา ควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน พักสายตา นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และที่สำคัญอย่าหลงเชื่อคนแปลกหนาที่คุยผ่านแชทออนไลน์เนื่องจากอาจโดนหลอกลวงได้ ส่งผลไปถึงการมาตรกรรมถึงแก่ชีวิต

       3.3 ข้อเสนอแนะ

ทางคณะผู้จัดทำอยากจะทำโครงการนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแกบุตรหลานในการใช้มือถือสมาร์ทโฟนให้ถูกต้องถูกเวลา ควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน พักสายตา นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และที่สำคัญอย่าหลงเชื่อคนแปลกหนาที่คุยผ่านแชทออนไลน์เนื่องจากอาจโดนหลอกลวงได้ ส่งผลไปถึงการมาตรกรรมถึงแก่ชีวิต

 

bottom of page